I can’t do everything for everybody, but I can do something for somebody. And what I can do, I must do. Dr.Bob Pierce, World Vision Name: Greenpeace SEAsia Thailand City: Bangkok Hometown: Bangkok, Thailand Country: Thailand Companies: Greenpeace Southeast Asia (THAIL... Interests and Hobbies: Saving the environment for all lives on earth. Website: http://www.greenpeace.or.th

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

เราคือบุตรหลานของดวงดาว

เราคือบุตรหลานของดวงดาว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กันยายน 2552 21:11 น.
       

        
            “ห้วง อวกาศนั้นปราศจากลม สัมผัสอันนุ่มนวลยามสายลมอ่อนลูบไล้ใบหน้า และแม้กระทั่งการโจมตีอันเกรี้ยวกราดของพายุ จึงเป็นความสุขใจอย่างหนึ่งที่ได้กลับคืนสู่โลก”
       

            “เรา มองว่าโลกเปรียบดังโอเอซิสหนึ่งเดียวในห้วงอวกาศ เป็นบ้านของเผ่าพันธุ์มนุษย์ และเป็นที่พักพิงของสิ่งมีชีวิตเพียงแห่งเดียวที่เรารู้จักในระบบสุริยะ”
       

            ...คือคำบอกเล่าจากนักบินอวกาศ กับนักธรณีวิทยาดาวเคราะห์ อย่าง ทอม โจนส์ และ เอลเลน สโตแฟน ผู้ถ่ายทอดปูมดวงดาวไว้ได้อย่างน่าสนใจ ใน PLANETOLOGY (ชื่อภาษาไทย-เผยความลับอาณาจักรดาวเคราะห์) หนังสือสารคดีพิเศษ จาก NATIONAL GEOGRAPHIC

       

        
            ทว่า ใช่เพียงคำกล่าวข้างต้น หากข้อมูลน่าพิศวงเกี่ยวกับระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวารในหนังสือเล่มนี้ ยังชวนให้ย้อนนึกถึงข้อสันนิษฐานใหม่ นับแต่มนุษยชาติได้รู้จักส่วนประกอบของดาวหางว่ามีโมเลกุลอินทรีย์ที่อาจก่อ ให้เกิดสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่คำกล่าวทำนองว่า เรา...เผ่าพันธุ์มนุษย์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่ชื่อว่า ‘โลก’ นี้ ล้วนเป็นบุตรหลานของดวงดาว
       
            เราทั้งมวล ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมรักของดาวเคราะห์สีน้ำเงินและดาวหาง
       ดาวหางพุ่งชนโลก ทิ้งเชื้ออสุจิไว้ในการประคับประคองด้วยครรภ์ของโลก เจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวรูปแบบง่ายๆ กระทั่งผ่านวิวัฒนาการนานหลายพันล้านปี เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงก่อกำเนิดขึ้น เป็นระยะเวลาของการวิวัฒน์สายพันธุ์อันยาวนาน นานพอจะทำให้มนุษย์หลงลืมไปว่า เผ่าพันธุ์ของตน มิใช่สิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวที่อยู่รอดในห้วงอวกาศ

       

        
            ไม่น่าแปลกใจ หากเรื่องราวของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวาร รวมถึงการสำรวจห้วงอวกาศเพื่อค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ผ่านประสบการณ์ที่ผสานกับภูมิความรู้อย่างแตกฉาน ในศาสตร์อันว่าด้วย ธรณีวิทยาดาวเคราะห์ ของ ทอม โจนส์ และ เอลเลน สโตแฟน ที่มอบไว้ให้แก่ผู้อ่าน จะยิ่งย้ำเตือนให้ตระหนักว่า การถือกำเนิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บน ‘โลก’…ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือความมหัศจรรย์ คือพลานุภาพที่อาศัยการผนึกกำลังร่วมกันของทั้งห้วงจักรวาล ไม่ว่า สายพันธุ์ที่ผ่านการวิวัฒน์อย่างซับซ้อน หรือยังคงรูปแบบอันเรียบง่าย
       
            ทั้งหมดทั้งมวลคือองคาพยพที่เชื่อมโยงและขับเคลื่อน ‘ชีวิต’
       
            สำหรับเรา สารคดีเล่มหนาหนักเล่มนี้ จึงให้มากกว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยาดาวเคราะห์ แต่คือการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับห้วงจักรวาลอันไพศาล เพื่อบอกกล่าวว่า กว่าแต่ละเผ่าพันธุ์บนโลกจะถือกำเนิดขึ้นมา
       
            เราเดินทางผ่านความมหัศจรรย์อันแสนยากเข็ญเพียงไร
       
            เรามาอยู่ที่นี่ ตรงนี้ ณ ขณะนี้ ได้อย่างไร

       

        
            ถึงที่สุดแล้ว อาจเป็นเช่นที่ ทอม และ เอลเลน บอกไว้
       “เราศึกษาดวงดาวทั้งมวล เพื่อที่ในท้ายที่สุดเราจะเข้าใจโลกของเราเอง”
       

                        .................
       
            เรื่องโดย : ตัวหนอนบนกองหนังสือ
       ภาพประกอบจาก PLANETOLOGY เผยความลับอาณาจักรดาวเคราะห์
       
            หมายเหตุ : PLANETOLOGY ฉบับภาษาไทย แปลโดย อศิระ วนัส จัดพิมพ์โดย บมจ.อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง
       
http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9520000104814

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม