แม้จะเพิ่งมีข่าวคราวคดีทุจริตติดสินบนระหว่างชาวต่างชาติกับอดีตผู้ว่า การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2550 อย่างไรก็ตาม เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติดังกล่าวก็ยังเดินหน้าจัดงานมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ด้วยทีมงานชาวไทยที่ไม่ใช่ชาวต่างชาติในระยะหลัง
ในปีนี้ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯก็จะหวนกลับมาจัดงาน อีกครั้งระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซินีม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน พร้อมด้วยหนังนานาชาติจำนวนมากมายหลายเรื่อง
หากตัดเรื่องราวทุจริตในอดีตทิ้งไป เราก็จะพบว่าอย่างน้อยภาพยนตร์จากนานาประเทศที่ถูกนำเข้ามาฉายในเทศกาล ภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ก็ถือเป็นสื่อที่เชื่อมต่อกับแหล่งความรู้ในโลกกว้างซึ่งมีราคาถูกและเข้า ถึงได้ง่ายที่สุดอีกชนิดหนึ่งสำหรับคนไทยหากเปรียบเทียบกับหนังสือ โดยในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯครั้งนี้ ก็มีการนำหนังอาเซียนและไทยที่น่าสนใจหลาย ๆ เรื่องมาจัดฉาย ได้แก่
"Aurora" หนังของผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ "อดอลโฟ อลิซ จูเนียร์" ซึ่งเล่าเรื่องของ "ออ โรร่า" หญิงสาวนักกิจกรรมทางสังคม ที่ถูกลักพาตัวไปโดยสมาชิกกลุ่มกบฏ Lost Command แต่กลุ่มกบฏที่ลักพาตัวเธอกลับต้องเผชิญหน้ากับการถล่มยิงของทหารกลางดึก ทำให้เธอพลัดหลงจากกลุ่มและเดินทางไปอย่างไร้จุดหมายท่ามกลางป่าทึบ ในที่สุดเธอก็ได้พบกับหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มกบฏที่ลักพาตัวเธอมา ออโรร่าพยายามหลบหนีเขา เมื่อยามอรุณรุ่งมาถึงเธอจะยังมีลมหายใจอยู่หรือไม่?
"Independencia" ภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์วัย 25 ปี "รายา มาร์ติน" ซึ่งเพิ่งได้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปีนี้ หนังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ที่เสียงของสงครามดังสนั่นตอบรับการเดินทางเข้ามาของกองทัพอเมริกัน กระทั่งมารดาวัยชราและบุตรชายคู่หนึ่งต้องพากันหลบหนีเข้าไปใช้ชีวิตอัน เงียบและเรียบง่ายกลางหุบเขา วันหนึ่งบุตรชายได้ช่วยเหลือสตรีบาดเจ็บผู้หนึ่งกลางป่าและพาเธอกลับมาที่ บ้าน เมื่อเวลาผันผ่านไป ชายหนุ่ม หญิงสาว และลูกของพวกเขาอาศัยอยู่ในป่าตัดขาดจากโลกภายนอกอันยุ่งเหยิง แต่เมื่อมีพายุใหญ่กำลังก่อตัวขึ้นก็ทำให้ครอบครัวดังกล่าวเริ่มรู้สึกหวาด หวั่น อีกทั้งเหล่าทหารอเมริกันก็กำลังเดินทัพเข้ามาใกล้พวกเขามากยิ่งขึ้นทุกที
"Kinatay" ภาพยนตร์ฟิลิปปินส์ของผู้กำกับ "บริลลันเต้ เมนโดซ่า" ที่ทำให้เมนโดซ่าสามารถคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี ค.ศ.2009 มาได้เป็นผลสำเร็จ หนัง เล่าเรื่องราวของตัวละครชื่อ "เปปิง" ที่กำลังฝันหวานเพราะกำลังจะได้แต่งงานกับหญิงสาวที่ให้กำเนิดลูกแก่เขา แต่เขาเป็นเพียงนักเรียนตำรวจจน ๆ คนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องรับงานนอกหน้าที่เพื่อหารายได้พิเศษ เปปิงคุ้นเคยดีกับการหาเงินระยะสั้นในแวดวงค้ายา เขาจึงเผลอตกปากรับงานที่ให้เงินดีจากเพื่อนเลวคนหนึ่ง ชายหนุ่มพลัดตกลงไปสู่การเดินทางท่ามกลางความมืดมนอันหนักหน่วง เมื่อได้รู้เห็นการลักพาตัวและทรมานโสเภณีสาวรูปงาม เขาตื่นกลัวและหมดหนทางไปเมื่อต้องทำทุกสิ่งภายใต้การควบคุมของฆาตรกรโรคจิต ชายหนุ่มจึงต้องทบทวนตนเองว่าหรือแท้จริงแล้วตัวเขานั่นเองที่คือฆาตกร?
"Jamila and The President" หนังอินโดนีเซียของผู้กำกับ "รัตนา ซารุมแพท" ที่เล่าเรื่องของ "จา มิล่า" หญิงโสเภณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต เพราะเธอยอมรับความผิดฐานฆ่ารัฐมนตรีอาวุโสคนหนึ่ง โดยไม่ร้องขอทนายความหรือขอลดหย่อนโทษ กรณีของเธอทำให้เกิดการถกเถียงกันไปทั่วประเทศ ตามด้วยปฏิกิริยาจากทหารกลุ่มหนึ่งที่พยายามบีบให้รัฐบาลตัดสินลงโทษเธอด้วย การประหารชีวิต ขณะเดียวกัน ชีวิตในคุกก็ค่อยๆ เผยให้เห็นถึงชีวิตวัยเยาว์ของจามิล่า ซึ่งเธอตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ที่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในหลาย พื้นที่ และจามิล่าก็คือตัวแทนของเด็กนับล้านคนที่ถูกขายเพราะความยากจนและด้อยการศึกษา
รวมภาพยนตร์สั้นเรื่อง "9808" จากประเทศอินโดนีเซีย เป็นโครงการที่นำหนังสั้นจำนวน 10 เรื่องจาก 10 ผู้กำกับ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้กำกับภาพยนตร์ ศิลปิน นักดนตรี และนักวิชาการ ที่รวมตัวกันในนามกลุ่ม "Umbrella Project" มาฉายร่วมกันเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 10 ปี แห่งการปฏิรูปการเมืองในอินโดนีเซีย เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2008 โดยหนังสั้นแต่ละเรื่องจะมีมีจุดเน้นที่แนวคิดของยุคปฏิรูปการเมืองและความ หมายที่แท้จริงของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเล่าผ่านสายตาของประชาชนคนธรรมดาซึ่งถือเป็นวีรชนตัวจริงของประเทศ
"Malaysian Gods" หนังสารคดีมาเลเซียของผู้กำกับ "อามีร์ มูฮัมหมัด" ที่ ตั้งใจจะสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1998 ซึ่ง "นายอันวาร์ อิบบราฮิม" ถูกปลดออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และต้องขึ้นศาลในคดีคอร์รัปชั่นและการร่วมเพศทางทวารหนัก ส่งผลให้มีผู้คนจำนวนมากที่เห็นว่ารัฐบาลใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมได้ร่วมกัน มาเดินประท้วงตามท้องถนน ต่อมามีการเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า "ยุคปฏิรูป" โดยมูฮัมหมัดได้เข้าไปสำรวจเหตุการณ์การประท้วงครั้งนั้น ผ่านการสัมภาษณ์บรรดาบุคคลที่เคยใช้ชีวิต ทำงาน หรือได้แวะเวียนไปยังบริเวณที่เกิดเหตุการประท้วงเมื่อ 10 ปีก่อน โดยใช้ภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นภาษาของกลุ่มเชื้อชาติที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในบรรดาสามเชื้อ ชาติหลักของมาเลเซีย เป็นภาษาในการสื่อสาร เพื่อสอบถามว่าบุคคลทั้ง หลายคิดอย่างไรกับชีวิต ความหวัง และความฝัน และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดให้แก่ มาเลเซียหรือไม่
"BURMA VJ: REPORTING FROM A CLOSED COUNTRY" หนังสารคดีเกี่ยวกับประเทศพม่าของผู้กำกับชาวเดนมาร์คชื่อ "แอนเดอร์ส ฮอกสโบร ออสเทอร์การ์ด" ที่ บันทึกเรื่องราวของเหล่า Video Journalist หรือ VJ ซึ่งเป็นหน่วยข่าวลับในประเทศดังกล่าวที่มีเครื่องมือประจำตัวคือกล้อง วิดีโอพกพาขนาดเล็ก พวกเขาแอบส่งภาพความเป็นไปของประเทศออกสู่โลกภายนอกแม้จะเสี่ยงต่อชีวิตและ อาจต้องติดคุกก็ตาม "โจชัว" ชายหนุ่มวัย 27 ปี เป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ของนักข่าวกลุ่มนี้ โดยในช่วงที่พระสงฆ์ชาว พม่าลุกฮือขึ้นประท้วงรัฐบาลทหาร ขณะที่บรรดาสำนักข่าวต่างชาติก็ถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าประเทศพม่า เขาและทีมงานจึงกลายเป็นคนกลุ่มเดียวที่สามารถส่งภาพการปฏิวัติด้วยชายจีวร ของคณะสงฆ์ออกสู่จอโทรทัศน์ทั่วโลกได้ เมื่อรัฐบาลทหารตระหนักถึงพลังของกลุ่มคนผู้ถือกล้องวิดีโอตัวเล็กๆ เหล่านี้ บรรดา VJ จึงตกเป็นเป้าหมายที่ต้องถูกกำจัด
"สวรรค์บ้านนา" (Agrarian Utopia) ผลงานหนังสารคดีของ "อุรุพงษ์ รักษาสัตย์" บัณฑิตสาขาภาพยนตร์จากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เกิดมาในครอบครัวชาวนาที่ อ.เทิง จ.เชียงราย ที่สามารถคว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติมาได้หลายรางวัล หนังถ่ายทอดภาพชีวิตของชาวนาสองครอบครัวผู้ซึ่งที่นาถูกยึด ต่อมาพวกเขาได้มาร่วมทำนาบนผืนดินเแผ่นดียวกัน และหวังว่าจะสามารถผ่านชีวิตหนึ่งปีของการทำนาไปได้เหมือนเช่นทุก ๆ ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าไม่ว่าโลก ประเทศ หรือสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ชาวนาเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถนึกฝันถึงวิถีแห่งความไม่ทุกข์ยากได้ สุดท้ายหนังพยายามตั้งคำถามว่า "เราจะฝันถึงโลกอุดมคติได้อย่างไร ขณะที่ท้องยังหิวอยู่"
นอกจากนั้น ยังจะมีการจัดฉายหนังเพื่อรำลึกถึงผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยและมาเลเซียผู้ล่วงลับ ได้แก่ "เชิด ทรงศรี" และ "ยาสมิน อาห์หมัด" ทั้งนี้ ผลงานหนัง 3 เรื่องของเชิดที่จะถูกนำมาฉายในเทศกาลคือ "แผลเก่า" "พลอยทะเล" และ "ข้างหลังภาพ" ส่วนผลงานหนัง 3 เรื่องของอาห์หมัดที่จะถูกนำมาฉายในเทศกาลคือ "Chocolate" "Sepet" และ "Talentime"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น