I can’t do everything for everybody, but I can do something for somebody. And what I can do, I must do. Dr.Bob Pierce, World Vision Name: Greenpeace SEAsia Thailand City: Bangkok Hometown: Bangkok, Thailand Country: Thailand Companies: Greenpeace Southeast Asia (THAIL... Interests and Hobbies: Saving the environment for all lives on earth. Website: http://www.greenpeace.or.th

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มณเฑียร บุญตัน ผู้ไม่ยอมแพ้โชคชะตา


 วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11495 มติชนรายวัน


มณเฑียร บุญตัน ผู้ไม่ยอมแพ้โชคชะตา


พนิดา สงวนเสรีวานิช เรื่อง วรพงษ์ เจริญผล ภาพ




มองจากภายนอกเผินๆ อาจจะไม่รู้ว่าชายคนนี้เป็นผู้พิการทางสายตา

ยิ่ง ได้ฟังเรื่องราวการใช้ชีวิต การสู้ชีวิตของเขายิ่งทึ่ง...ทึ่งในความไม่ยอมจำนนต่อสภาพร่างกายที่มีข้อ จำกัด*"มณเฑียร บุญตัน"* คือชายผู้ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา ปัจจุบันเขาเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

มณเฑียร เป็นลูกชาวนาที่มีความรู้เพียงแค่ ป.4 เป็นคนบ้านน้ำชำ อ.สูงเม่น จ.แพร่ แม้ว่า พ่อ-นายล่ำ และแม่-นางลำใย มีที่นาเพียง 2-3 ไร่ พอแค่ปลูกข้าวกิน แต่ทั้งสองให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษายิ่งนัก

อายุได้เพียง 7 ขวบ ด.ช.มณเฑียรถูกส่งไปเข้าโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ แรกๆ เขาร้องไห้คิดถึงบ้านทุกวัน แต่เมื่อปรับตัวเข้ากับโรงเรียนและเพื่อนๆ ได้แล้ว การกลับบ้านช่วงปิดเทอมกลับเป็นเรื่องน่าเบื่อ...

"เพราะเด็กที่เคยเล่นกับเรามา ไปมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปแล้ว"

พอ ขึ้นมัธยมต้นมณเฑียรก็หาข้ออ้างไม่กลับบ้านด้วยการตั้งวงซ้อมดนตรีกับ เพื่อนๆ เริ่มจากแกะเพลงลูกทุ่งยุคสายัณห์ สัญญา กำลังดัง แล้วมาเล่นเพลงป๊อป ดิสโก้ ร็อค แจ๊ซ ฟิวชั่นแจ๊ซ จนมาอะเร้นจ์เพลงเอง

กระทั่ง ก้าวขึ้นถึงเวทีประกวด "โค้ก มิวสิค อวอร์ด" ด้วยซ้ำ แต่บังเอิญว่า รอบตัดสินตรงกับวันสอบเอ็นทรานซ์พอดี เส้นทางนักดนตรีจึงจบลง มณเฑียร เรียนอยู่โรงเรียนสอนคนตาบอด 6-7 ปี ก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมงฟอร์ต เรียนร่วมกับเด็กนักเรียนตาดี ในยุคที่หนังสืออักษรเบรลล์นั้นมีนับเล่มได้

"ชีวิตไม่ถึงกับยากลำบาก แต่มันท้าทาย" มณเฑียรบอก

จบ จากมัธยมปลายเขาได้เป็นนักศึกษาศิลปศาสตร์ เป็นศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2531 ได้ทุนไปเรียนต่อด้านดนตรีที่มหาวิทยาลัยเซนต์ โอลาฟ สหรัฐอเมริกา และที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า สหรัฐอเมริกาในปี 2533 และ 2536 ตามลำดับ

มี พี่สาว 1 คนอายุห่างกัน 4 ปี ชื่อ "ศรีเวียง ชุ่มปัน" มณเฑียรสมรสกับ "นางยูมิ ชิราอิชิ" เจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ ด.ญ.ยุคลธร บุญตัน

ปัจจุบันด้วย วัย 44 ปี เป็น ส.ว.ผู้พิการทางสายตาที่ได้รับการยกย่องเป็น "คนดีศรีสภา" เป็นนายกสมาคมตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อให้ผู้พิการได้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนตาดี

จน ถึงวันนี้ประเทศไทยไม่เพียงได้ให้สัตยาบัน แต่ยังเป็นประเทศตัวตั้งตัวตีในการยกร่าง "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ" จนลุล่วง ถือเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนด้านคนพิการฉบับแรกของโลก และเป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของศตวรรษที่ 21

นอกจากการเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากในสมองของชายคนนี้

ตั้งแต่เล็กก็มีชีวิตหัวหกก้นขวิด?

ลูก ชาวบ้านไม่ได้เลี้ยงแบบไข่ในหิน แล้วชนบทเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ไม่มีมอเตอร์ไซค์เต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนสมัยนี้ ฉะนั้นเราก็วิ่งเล่นเหมือนกับเด็กทั่วไป แล้วจริงๆ ผมก็พอเห็นแสงบ้าง การที่เราได้วิ่งเล่นเข่าแตกเย็บบ้าง ทำให้เราเป็นคนคล่อง เพราะเราได้อาศัยกระบวนการธรรมชาติกระตุ้นให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อของเรา เอง


เห็นว่าเป็นหัวหน้าแก๊งเด็ก?

ก็ เป็นธรรมดา ชนบทก็มีคนที่มีลักษณะเป็นลูกพี่ในแก๊งได้ ซึ่งผมมีลักษณะอย่างนั้น เนื่องจากเราอยู่ในสังคมที่ผมเรียกว่า "เวทนานิยม" เวลาเห็นคนตาบอดก็จะชอบล้อเลียน ซึ่งสมัยนั้นเรายังไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจว่าอันไหนควรไม่ควร เราก็ตอบโต้ พอตอบโต้มันก็ต้องมีสมัครพรรคพวกช่วย เช่น ถ้าเด็กคนอื่นมาล้อเลียนเรา ก็จะให้เพื่อนช่วยจับ แล้วเราเป็นคนสำเร็จโทษเอง ถ้าผู้ใหญ่มาล้อเลียน เราก็บอกว่า เฮ้ย เอาหนังสติ๊กระดมยิงกระจกบ้านให้หน่อย อย่างนี้เรียกว่าแก๊งหรือเปล่า (หัวเราะ)

รู้สึกด้อยกว่าคนอื่น?

ไม่ครับ ถ้าผมรู้สึกว่าด้อยกว่าคนอื่น ผมจะเอาน้ำยาอะไรไปสำเร็จโทษเขาได้ เพราะผมไม่รู้สึกว่าด้อยกว่าเขาน่ะสิ

ทำยังไงถึงมีลูกน้องเยอะแยะ?

เรา ไปไหนไปกัน มีอะไรก็แบ่งกัน ก็เลยทำให้มีคนติดตาม และผมก็ชอบชวนเขาทำนั่นทำนี่ ยังจำได้เลย ผมชอบชวนเพื่อนออกไปขโมยอ้อย คือเราเป็นคนชี้ชวน เป็นคนชี้นำ อย่างมากก็ 3-4 คน

ชาวบ้านมองว่าเป็นเด็กเกเร?

ไม่ ครับ เขาก็เห็นว่าประสาเด็ก แต่ก็คงรู้สึกว่าเขาแกล้งเราไม่ได้ อย่างผู้ใหญ่แกล้ง เด็กมักจะกลัว แต่ผมจะสร้างนิสัยให้ตัวเองว่าไม่กลัวผู้ใหญ่ ถึงสู้ไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีลอบกัดเอา คือเราจะไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างให้ผู้ใหญ่

อยู่โรงเรียนสอนคนตาบอดมีแก๊งด้วย?

มี บ้างครับ แต่แก๊งในโรงเรียนสอนคนตาบอด กับแก๊งเด็กชาวบ้านมันต่างกัน สมัยเด็กนั่นเป็นการหยอกล้อกัน แต่นี่เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโรงเรียนประจำ ถูกระเบียบถูกกฎเกณฑ์ของโรงเรียนควบคุม ฉะนั้นพฤติกรรมการขบถของเด็กก็เป็นธรรมดา เช่น ผู้ใหญ่บอกไม่ให้เอาอะไรมากินในหอนอน เราก็เอามากิน ผู้ใหญ่บอกไม่ให้ซื้อของข้างนอก เราบอกของในโรงเรียนไม่อร่อย ก็กระโดดรั้วโรงเรียนไปซื้อข้างนอกมากิน แต่ภายใต้กฎที่เข้มงวดก็ทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็ง อาจจะเรียกได้ว่าเราแกร่งกว่าคนที่อยู่กับพ่อแม่จนโตด้วยซ้ำ

เรียนมัธยมที่โรงเรียนมงฟอร์ต เรียนแข่งกับคนตาดีๆ ได้อย่างไร

มัน เป็นความท้าทาย เมื่อ 20-30 ปีก่อน หนังสือเบรลล์ไม่ได้มีดาษดื่น ถ้าเราอยากมีไว้อ่านเราต้องคัดลอกเอง ก็ต้องไปซื้อหนังสือทั่วไปตามร้านหนังสือมา แล้วหาอาสาสมัครมาอ่านหนังสือให้ฟังแล้วจดช็อตโน้ตเอง เวลาส่งการบ้านก็จะใช้การพิมพ์ดีดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมเลยพิมพ์ดีดแบบสัมผัสได้ตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ส่วนวิชาที่เป็นแบบเติมคำ เช่น คณิตศาสตร์ เราก็ต้องหาเพื่อนซี้ช่วยเติมให้ตามที่บอก หรือไม่ก็หาอาสาสมัครมาช่วยอ่านเวลาทำการบ้านทุกเย็น

ตอนได้ทุนไปเรียนต่ออเมริกา ไปคนเดียว

ครับ เป็นเรื่องธรรมดา ชีวิตผมต้องออกจากบ้านตั้งแต่ยังเป็นเด็ก มันจะเป็นอะไรไป ก็แค่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลเท่านั้นเอง ตอนนั้นจบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วชิงทุนไปเรียนที่ เซนต์ โอลาฟ คอลเลจ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นทุนแลกเปลี่ยนระหว่าง มช.กับมหาวิทยาลัยที่นั่น ไปเรียนปริญญาตรีอีกตัวหนึ่ง

การเรียนในเมืองไทยกับเมืองนอกต่างกันแค่ไหน

ถ้า จะเปรียบก็เหมือนกับที่เมืองไทยเราเอาควายไถนา แต่ของเขามีแทร็กเตอร์แล้ว คือเรียนหนังสือที่เมืองไทยเราต้องต่อสู้ดิ้นรน โดยที่ไม่มีการซัพพอร์ตจากรัฐ ใครเรียนไม่ไหวก็ต้องออกไป ฉะนั้นทุกคนต้องตื่นตัวอยู่เสมอ ต้องยอมรับแรงเสียดทาน เพราะเราอยู่ท่ามกลางเด็กตาดี 2,000-3,000 คน ต้องยอมรับว่าการทำข้อสอบไม่ทันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าบางวิชาเป็นเรื่องท่องจำ ในเมื่อเรามีหนังสือน้อย เท็กซ์บุ๊กก็ไม่มี หนังสือเบรลล์ก็ไม่มี ฉะนั้นเมื่อเราอ่านน้อย คะแนนเราก็น้อย



แต่ พอไปถึงอเมริกา ทุกอย่างเป็นระบบที่รัฐจัดตั้งขึ้นมาแล้ว มีคนอ่านหนังสือให้ แต่ต้องนัดหมายก่อน ถ้ามีบทเรียน มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการให้แปลงเป็นหนังสือเบรลล์ให้ ก็ต้องเอาไปส่งที่ศูนย์จัดการทางวิชาการ ไม่เคยจับคอมพิวเตอร์มาก่อน ทางมหาวิทยาลัยเปิดให้หัดใช้ หรือจะยืมหนังสือจากมหาวิทยาลัยของรัฐสภาอเมริกันที่วอชิงตันก็ทำได้ แต่ต้องวางแผนการยืมล่วงหน้า 6 เดือน ฉะนั้นเราก็ต้องไปคุยกับที่ปรึกษาว่า เทอมหน้าจะต้องใช้หนังสืออะไรบ้าง ที่ปรึกษาจะทำหนังสือส่งไปที่วอชิงตันให้เรายืมหนังสือได้ล่วงหน้า

ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ คือนอกจากเรียน ก็กินเหล้าเมายาด้วย

แน่ นอนครับ ผมเป็นคนที่เรียนด้วยเล่นด้วยตลอดอยู่แล้ว ชีวิตของผมกับการเรียนกับการกินเหล้าเมายาไม่เคยตัดออกจากกันได้เลย ก็เป็นนักดนตรีตามผับก็รู้อยู่แล้วว่านิสัยของนักดนตรีตามผับจะเรียบร้อย เหมือนกับผ้าพับไว้ มันไม่มี แต่ไม่ได้เล่นตามผับ จะรับเป็นจ๊อบๆ เฉพาะงานปาร์ตี้ที่เขาชวนเราไปเล่น เพราะต้องแอบๆ ส่วนใหญ่จะเป็นงานภารโรงเสียมากกว่า งานที่คนอื่นเขาไม่ทำ เช็ดพื้นถูพื้น เช็ดหน้าต่าง งานแบบนั้นนักศึกษาเอเชียทำ

คือห้ามนักศึกษาทำงานมากเกินกว่ากี่ชั่วโมงๆ

ครับ เขาห้ามไม่ให้ทำงานเกิน 20 ชั่วโมง แต่ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีนะ รัฐบาลไทยน่าจะเอามาใช้เสียที คือเรามีทุนกู้เงินเพื่อการศึกษา แต่เราก็ปล่อยให้ทำงานไปเที่ยวไปกินไปอย่างเดียว พอจบมาไม่มีเงินใช้ แต่ที่นั่นเขามีเงินใช้หนี้ทุกเดือน งานอาจจะไม่ได้มีศักดิ์มีศรีมากมาย งานเป็นงานล้างจาน เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ งานเป็น รปภ.ของมหาวิทยาลัย ผมว่างานพวกนี้ควรเอามาให้นักศึกษาทำงานให้หมด แทนที่จะใช้ลูกจ้างชั่วคราว เพราะคนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่มีสวัสดิการ และมหาวิทยาลัยลงทุนไปตั้งเยอะแยะ ทำให้เขามีทักษะ พอถึงเวลาเขาก็ไป มหาวิทยาลัยไม่ได้อะไร

ได้ถวายการรับใช้สมเด็จพระเทพฯ

ใช่ ครับ เรียนจบมาก็มาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปี 2545 ก็ลาออกมาทำงานเต็มเวลาให้กับองค์กรเอกชน คือเป็นเลขาธิการให้กับมูลนิธิคนตาบอดไทย และเป็นนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547 แล้วก็ทำงานโครงการเดซี่ ซึ่งเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานเปิด จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นกรรมการมูลนิธิราชสุดาของสมเด็จพระเทพฯ

เคยเข้าเฝ้าฯ

บ่อย ครับ สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงต่อคนพิการ ท่านทรงมีความเชื่อมั่นและให้โอกาสคนได้พิสูจน์ความสามารถ เช่นที่ผมผลักดันเรื่องหนังสือเดซี่ในฐานะที่เป็นหนังสือเพื่อทุกคน พระองค์ก็เข้าพระทัยเป็นอย่างดีและทรงให้การสนับสนุน จนกระทั่งเรามีโครงการผลิตหนังสือเดซี่ในคุกหญิงเป็นแห่งแรกของโลก ภายใต้โครงการไอทีตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ

อีกโครงการหนึ่ง ที่ดีวันดีคืน คือโครงการสนับสนุนให้นักเรียนตาบอดได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระเทพฯ ทรงให้การสนับสนุนตั้งแต่ผมเป็นอาจารย์อยู่มหาวิทยาลัยที่มหิดลแล้ว มีการจัดสัมมนาเรื่องไอทีเพื่อคนพิการตั้งแต่ปี 2539

หลังจากนั้นเรา ก็มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับคนตาบอดตั้งแต่ปี 2548 จนกระทั่งเราสามารถเอานักเรียนตาบอดไปเรียนสายวิทย์ ม.4 ที่เซนต์คาเบรียลได้ตั้งแต่ปี 2549 และปีนี้นักเรียนคนตาบอด 2 คนนั่นก็ได้เป็นนักเรียนคนบอด 2 คนแรกในประเทศไทยที่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นการต่อสู้ยาวนานเป็นสิบๆ ปี การเอาชนะใจคณาจารย์สายวิทยาศาสตร์ในเมืองไทยเป็นการยากมาก วงการวิทยาศาสตร์เมืองไทยให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ "เชิงประจักษ์" มาก นักวิทยาศาสตร์เมืองไทยจึงเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีน้อยมาก คือทดลองเพื่อจะได้เห็นผลการทดลองที่คนอื่นทำไว้แล้ว จึงเป็นอุปสรรคที่คนตาบอดไม่สามารถเข้าเรียนสายวิทย์ในเมืองไทยได้ตลอดมา แต่ด้วยพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเทพฯ และพวกเราก็ช่วยกันผลักดันมาตลอด ขณะนี้เราสามารถดันนักเรียนตาบอดของเราเข้าสู่ computer science ได้เป็นเบื้องต้น และเราก็ต้องดันกันต่อ

เร็วๆ นี้ก็เพิ่งมีการประชุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เรื่องไอทีเพื่อคนพิการที่เมืองไทย

ครับ เมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางสหภาพโทรคมนาคมสากล ร่วมกับ กทช.ของไทยจัดการประชุมว่าด้วยเรื่องไอทีเพื่อคนพิการ แนะนำคู่มือที่นำเอาหลักการ ข้อกำหนดทั้งจากเอกสารที่เป็นการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการประชุม สารสนเทศที่ผนวกรวมกับเอาเรื่องคนพิการไว้ในนั้นด้วย และเอกสารในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ มาเขียนในลักษณะของคู่มือ ในลักษณะการขยายผลที่เป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ ทำยังไงให้คนพิการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นธรรมให้ได้

ไอทีเพื่อคนพิการบ้านเราเป็นอย่างไร

มันเกิดจาก วิธีคิดแบบเวทนานิยม คือคนพิการเป็นผู้รับการสงเคราะห์ คือผู้รับการดูแล ซึ่งวิธีคิดที่จะทำให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นที่พึ่งของคน อื่นได้ด้วย มันไม่อยู่ในระบบคิดแบบเวทนานิยม

ตั้งแต่ พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เรามี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรามีรัฐธรรมนูญใน หมวด "สิทธิ" และเราก็ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไปแล้ว ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องของข้อกฎหมาย คนพิการเรากำลังก้าวไปอยู่สู่สังคมฐานสิทธิ

เรากำลังก้าวข้ามจากฝั่ง เวทนานิยมไปสู่สังคมฐานสิทธิ แต่เรายังอยู่บนสะพาน ซึ่งสะพานนั้นอาจจะหักลงมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เราเห็นฝั่งของสังคมฐานสิทธิอยู่รำไรแล้ว

ที่น่าน้อยใจและผมก็พูดอยู่เสมอในสภา คือ เมืองไทยอะไรก็ดี กฎหมายไม่เป็นรองใคร แต่งบประมาณ ก็ยังกระจอกเหมือนเดิม

สัดส่วนการจัดสรรเงินเพื่อคนพิการยังคิดเป็น 0.25 ของงบประมาณแผ่นดิน


หน้า 17

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun01300852&sectionid=0140&day=2009-08-30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม