I can’t do everything for everybody, but I can do something for somebody. And what I can do, I must do. Dr.Bob Pierce, World Vision Name: Greenpeace SEAsia Thailand City: Bangkok Hometown: Bangkok, Thailand Country: Thailand Companies: Greenpeace Southeast Asia (THAIL... Interests and Hobbies: Saving the environment for all lives on earth. Website: http://www.greenpeace.or.th

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"ไอที" เพื่อคนพิการ สานฝันสร้าง "สังคมเท่าเทียม" วันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ


วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11489 มติชนรายวัน


"ไอที" เพื่อคนพิการ สานฝันสร้าง "สังคมเท่าเทียม"

วันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ
โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช



สังคมไทยระยะหลังเอ่ยอ้างถึงเรื่องของ "สิทธิ" อยู่บ่อยครั้ง

ไม่ว่าจะเป็นสิทธิสตรีที่จะต้องได้รับเท่าเทียมกับบุรุษ สิทธิของเพศที่ 3 เพศที่ 4
สิทธิประชาชนที่จะสามารถชุมนุมเรียกร้องเพื่อบางสิ่งบางอย่าง และสิทธิของอะไรต่อมิอะไร
อีกมากมาย

แต่กลับละเลย ตกหล่นสิทธิของผู้พิการ ทั้งๆ ที่คนกลุ่มนี้เป็นมนุษย์เหมือนกัน
พึงจะได้รับสิทธิเหมือนกับคนอื่นๆ
ที่ครบสามสิบสอง

ในความเป็นจริงประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ"
(Convention on the Rights of Persons with Disabilities,CRPD)
ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 แล้ว
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นมา

สาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้กล่าวถึงภาคีสมาชิกว่า จะต้องขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ
ทั้งในด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่างๆ

รวมถึงการกำหนด มาตรการที่เหมาะสมเพื่อประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันของคนพิการ
ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะ

ยอมรับความเท่าเทียมกันของคนพิการ ในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การเข้าทำงาน การรักษาพยาบาล
การประกันสิทธิและโอกาสที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันกับ บุคคลทั่วไป

แต่ระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมาดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก

มณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย อธิบายว่า สังคมไทยเป็นสังคม "เวทนานิยม" คือคนพิการเป็นผู้รับการสงเคราะห์
ผู้รับการดูแล เพราะฉะนั้นอย่าคิดแม้กระทั่งจะใช้เทคโนโลยีเลย แค่จะไปไหนมาไหน จะบริโภคอะไรสักอย่าง ก็เป็นผู้บริโภคระดับ 2
ต้องมีคนอื่นสังเคราะห์ จัดการเตรียมการไว้ให้หมด

วิธีคิดที่จะทำให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วยนั้นต้องไม่อยู่ในระบบคิดแบบเวทนานิยม

"ตั้งแต่ พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เรามีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรามีรัฐธรรมนูญใน หมวด "สิทธิ" และ
เราก็ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไปแล้ว ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องของข้อกฎหมาย คนพิการเรากำลังก้าวไปอยู่สู่ "สังคมฐานสิทธิ"

นั่นคือ การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

นายก สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บอกว่า "เราต่อสู้จนปัจจุบันเรากำลังจะก้าวไปอยู่ใน "สังคมฐานสิทธิ" จากเดิมทีเราเป็นสังคมแบบ
"เวทนานิยม"
จึงมีความรู้สึกว่า เราก็ควรจะเป็นผู้บริโภคด้วยตนเอง ควรจะเข้าถึงความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ระดับทุติยภูมิ

เราควรจะมีส่วนในการคิด การสะท้อนปัญหาของเราเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นนำสารของเราไปถ่ายทอดแทนเรา แล้วสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร
เป็นสังคมฐานความรู้ เราก็น่าจะได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเอง"

การ ที่สังคมจะปรับเปลี่ยนจาก "เวทนานิยม" เป็น "สังคมฐานสิทธิ" ได้นั้น มณเฑียรบอกว่า จะต้องเรียกร้องให้มีการจัดสภาพแวดล้อม
ไม่ว่าจะทางสถาปัตยกรรมก็ดี อาคารสถานที่ ยานพาหนะ ขนส่งก็ดี หรือทางระบบข้อมูลข่าวสารก็ดี ที่เปิดกว้างให้
คนพิการเข้าไปใช้ร่วมกับคนทั่วไปได้

สังคมจะเอื้อต่อคนพิการให้เข้าถึงได้ตามหลักสากลมีหลักการใหญ่ด้วยกัน 3 แนวคิด

(บน) มณเฑียร บุญตัน


แนว คิดที่ 1 คือ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" คือหลักการออกแบบที่เป็นสากล ถือเป็นระดับอุดมคติ
เทียบได้ "ยูโทเปีย" หรือยุคพระศรีอาริย์ นั่นคือ ทุกคนเข้าถึงทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
"ในทุกเรื่อง"

คือการออกแบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่มีอุปสรรคเลย ไม่ว่าจะเป็น
อาคารสถานที่ การขนส่ง ระบบไอซีที

แต่ เมื่อ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ไม่สามารถจะเกิดในทุกที่ทุกหนทุกแห่งทุกเวลาได้
ก็จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก
เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคลเข้ามารองรับ นั่นคือ แนวคิดที่ 2 คือ "เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

มณเฑียร อธิบายเพิ่มเติมว่า ตราบใดที่ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ยังไม่เกิดขึ้นเต็มสเกล หรือแม้จะเกิดขึ้นเต็มสเกล
มันก็ไม่ตอบโจทย์ทุกคนเสมอไป เช่น เราบอกว่า ทางลาดเป็น "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์"
แต่คนที่เป็นอัมพาตจะขึ้นตึกด้วยทางลาดได้อย่างไร ถ้าเขาไม่มีวีลแชร์ ซึ่งเป็น "เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

เช่น เดียวกับการสร้างเว็บไซต์ที่มีคำอธิบายภาพที่เป็นตัวอักษรหมดเลย ลิงก์ทุกลิงก์จะต้องมีคำอธิบายหมด
แต่ถามว่า
คนตาบอดจะเข้าถึงเว็บไซต์นั้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมอ่านจอภาพ
ตรงนี้คือสิ่งที่เราเรียกว่าเป็น
"เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"

ฉะนั้น การออกแบบที่เป็นสากลเป็นสิ่งที่เราต้องไปให้ถึง แต่ขณะเดียวกันความเป็นเฉพาะก็ต้องเข้ามาเสริม

ส่วน แนวคิดที่ 3 คือ "การช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล" ยกตัวอย่าง ในงานสัมมนาแห่งหนึ่ง ไม่มีอักษรเบรล เว็บไซต์ที่จะให้ข้อมูลก็ไม่มี
แต่ภายในงานมี
อาสาสมัครสำหรับช่วยอ่านเอกสารประกอบการสัมมนาให้ ถือเป็นการช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล คือเป็นที่ตกลงกันแล้วว่า ผู้ให้ก็ให้ได้แค่นี้
ผู้รับก็พอรับได้

"ถ้าเราจะก้าวไปสู่สังคม ประชาธิปไตย เป็นสังคมที่เคารพในสิทธิมนุษยชน ทั้งสามอย่างนี้ต้องเป็น "MUST" นี่คือสังคมฐานสิทธิที่มองที่สิทธิ
ของมนุษย์เป็นหลัก

ถามว่า เมืองไทยมีให้เต็มที่หรือยัง...ยัง แม้ในทางกฎหมายจะมีแล้ว แต่กฎหมายยังไม่ผันตัวไปเป็นนโยบายของรัฐที่ใช้ได้จริง" มณเฑียรให้ทรรศนะ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคมนี้ กำลังจะมีการประชุมครั้งสำคัญในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดย
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) และคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจและสังคมเอเชียแปซิฟิก สหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสแคป)
ร่วมกันจัดการประชุม เรื่อง
"การบูรณาการความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารสำหรับคนพิการในกระแสหลัก"
ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ มีร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ การประชุมจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 โดยเป็นการประชุมร่วมกันของผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำหนดระเบียบข้อบังคับ
ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน NGO และองค์กรนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญ
ด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและ
การสื่อสาร คนพิการจากทั่วทั้งภูมิภาค กว่า 20 ประเทศ จะมาร่วมกันหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และกรณีศึกษา รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับ
นวัตกรรมช่วยเสริมศักยภาพด้านการเข้าถึงและใช้ ประโยชน์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
และการประยุกต์ใช้งาน

ดร.อูน-จู คิม


ที่ สำคัญคือ เป็นการแนะนำคู่มือช่วยกำหนดนโยบายด้านความสามารถในการเข้าถึงและใช้
ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการ

มณเฑียร ซึ่งทำหน้าที่ตัวแทนประเทศไทยในการยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการเมื่อ ปีที่แล้ว เล่าว่า
การประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคมนี้ เป็นการประชุมเพื่อจะเอาผล
ของการทำงานระดับโลก มาหารือกันในระดับเอเชียแปซิฟิก เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ
ทำอย่างไรให้คนพิการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงและเป็นธรรม ให้ได้

"ตอนนี้เรามีผลของการทำงานระดับโลกอยู่ 2 ส่วน คือ งานที่เป็นเรื่องไอซีทีโดยตรง คือ
การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on Information Society)
แม้จะไม่ใช่เรื่องของคนพิการ แต่เผอิญผู้นำคนพิการ
ซึ่งมีผมเองอยู่ในนั้นด้วย ช่วยกันผลักดันจนกระทั่งคอนเซ็ปท์ของทั้งสามหลักการ ถูกบรรจุอยู่ในเอกสารหนังสือสัญญาฉบับนี้ด้วย
ตั้งแต่การประชุมเมื่อปี 2546 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ มีการนำเอกสารกระแสหลักผนวกรวมกับเรื่องคนพิการไว้ในนั้นด้วย แม้จะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
แต่เป็นคำประกาศร่วมกัน

ส่วน เอกสารฉบับที่ 2 คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ที่ประเทศไทยเป็นตัวตั้งตัวตีประเทศหนึ่งในการยกร่าง และก็คลอดในกรุงเทพฯด้วย
ถือเป็น "อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนด้านคนพิการฉบับแรกของโลก และถือเป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของศตวรรษที่ 21"

อนุสัญญา นี้ก็เอาสาระของคำในเรื่องของการเข้าถึงเรื่องไอซีทีในเรื่องของ "ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์" ไปจากอนุสัญญาฉบับแรกด้วย
แต่มีน้ำหนักตรงที่มันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่ได้เป็นกฎหมายเฉพาะแค่ด้านไอซีที แต่เป็นการประมวลเอาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ
คนพิการมาไว้ตรงนั้น ประเทศไทยร่วมร่าง
ลงนาม และให้สัตยาบันไปเมื่อปีที่แล้ว

ฉะนั้น เนื่องจากว่าเรื่องการเข้าถึงไอซีที มีอยู่ทั้งในเอกสารสำคัญทั้งสองฉบับนี้ สหภาพโทรคมนาคมสากล จึงร่วมกับ กทช.ของไทย
จัดให้มีการประชุมครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่คู่มือที่จะนำเอาหลักการ ข้อกำหนดจากเอกสารทั้งสองฉบับนี้มาเขียนเป็นคู่มือลักษณะการขยายผลที่เป็น
รูปธรรม
ซึ่งจะเป็นเหมือนคัมภีร์ให้ชาวบ้านเข้าใจได้ และคนพิการก็สามารถเข้าถึงได้

หลังจากนี้เราจะเห็นว่าพวกบริษัทที่ จะผลิตคอมฯ รถเมล์ รถไฟฟ้า ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง ฟุตปาธ โทรศัพม์มือถือ
เว็บไซต์ก็จะต้องคำนึงถึง
ทั้งสามอย่างที่ว่ามา ถ้าไม่ทำผิดกฎหมายทั้งไทยและเทศ กฎหมายระหว่างประเทศเราก็ให้สัตยาบันไปแล้ว กฎหมายในประเทศมีทั้ง
รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มี พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติ

"เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีคนไปฟ้องเท่านั้นเอง ช่วงปีสองปีนี้จึงเป็นการให้เวลากับทุกภาคส่วนได้เตรียมพร้อมกัน"



ดร.อูน-จู คิม

หัวหน้าสำนักงาน ไอทียู


ที่ ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติ ได้อนุมัติรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549
ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักไมล์
ความสำเร็จ สำหรับบุคคลที่มีความพิการกว่า 650 ล้านคนทั่วโลก โดยเป็นอนุสัญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 8 และ
เป็นครั้งแรกในรอบ 1,000 ปี

อนุสัญญาฉบับนี้ ถือว่ามีเนื้อหาใจความที่ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของคนพิการมากที่สุด

ปัจจุบัน มี 142 ประเทศที่ลงนามเข้าร่วม และมีอีก 64 ประเทศได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาฉบับนี้ จึงกลายเป็นเครื่องมือบังคับใช้ตามกฎหมายเรื่อยมา
ทั้งนี้บรรดา 64 ประเทศที่ได้ให้สัตยาบันดังกล่าว คิดเป็นตัวแทนสองในสามของประชากรและคาดว่าจะสามารถครอบคลุมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
ของประชากรโลกทั้งหมดภายในสิ้นปี 2552

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นปีแรกที่มีการจัดประชุมในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แนะนำคู่มือการเข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้มีความพิการ
เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์เพื่อ ตอบโจทย์เรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมถึงบริการที่จำเป็นสำหรับผู้มีความพิการเพื่อให้สอดคล้องตามความประสงค์ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

โดยคู่มือดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จ สมบูรณ์ในราวเดือนตุลาคมปีนี้ นอกจากนี้ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และทางกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร ยังมีแผนที่จะจัดการประชุมในลักษณะเดียวกันนี้ในภูมิภาคอื่นๆ นับแต่ปีนี้เป็นต้นไป



การประชุมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เรื่อง "การบูรณาการความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำหรับคนพิการ
ในกระแสหลัก" ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2552

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552

เวลา 10.00-11.30 น. การอภิปรายเรื่อง ความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการ

เวลา 11.30-12.30 น. การอภิปรายเรื่อง บทบาทของไอซีทีสำหรับคนพิการ

เวลา 13.30-15.00 น. การอภิปรายเรื่อง ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมและนโยบาย ของความสามารถในการเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ไอซีทีสำหรับคนพิการ

เวลา 15.30-17.00 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมระบบโทรคมนาคมเพื่อรองรับคนพิการ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552

เวลา 09.00-10.30 น. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการส่งเสริมระบบโทรคมนาคมเพื่อรองรับคนพิการ

เวลา 11.00-12.30 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมการเข้าถึงเว็บไซต์และอินเตอร์เน็ตสำหรับคนพิการ

เวลา 13.30-15.00 น. การอภิปรายเรื่อง การส่งเสริมโซลูชันความช่วยเหลือเพื่อคนพิการ

เวลา 15.30-17.00 น. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการส่งเสริมโซลูชันความช่วยเหลือเพื่อคนพิการ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552

เวลา 09.00-10.30 น. กลไกในการขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการดำเนินการหลังจากนี้

เวลา 11.00-12.30 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องเครื่องมือช่วยเหลือในการประเมินตน

เวลา 13.30-15.00 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดหาจัดซื้อขององค์กร

เวลา 15.30-17.00 น. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องความสามารถในการเข้าถึงเว็บ

เวลา 17.00-17.15 น. ปิดการประชุม


หน้า 20
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01240852&sectionid=0131&day=2009-08-24

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://twitter.com/care2causes
http://twitter.com/actionalerts
http://tham-manamai.blogspot.com
http://thammanamai.blogspot.com
http://sunsangfun.blogspot.com
http://dbd-52hi5com.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com
http://newsnet1951.blogspot.com
http://same111.blogspot.com
http://sea-canoe.blogspot.com
http://seminarsweet.blogspot.com
http://sunsweet09.blogspot.com
http://dbd652.blogspot.com
http://net209.blogspot.com
http://parent-youth.blogspot.com
http://netnine.blogspot.com
http://parent-net.blogspot.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th







ถูกพบอยู่กับ Buddy! แท็กรูปของคุณแล้วลุ้นคว้ารางวัลอันน่าตื่นตาตื่นใจ คลิกที่นี่เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม