I can’t do everything for everybody, but I can do something for somebody. And what I can do, I must do. Dr.Bob Pierce, World Vision Name: Greenpeace SEAsia Thailand City: Bangkok Hometown: Bangkok, Thailand Country: Thailand Companies: Greenpeace Southeast Asia (THAIL... Interests and Hobbies: Saving the environment for all lives on earth. Website: http://www.greenpeace.or.th

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สงครามห้องสมุดโลก กูเกิ้ล บุ๊ก เสิร์ช

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11489 มติชนรายวัน


สงครามห้องสมุดโลก


โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ siripong@kidtalentz.com



ทุกวันนี้ใครจะค้นหาข้อมูลอะไรบนอินเตอร์เน็ตก็ไปค้นเอาจากกูเกิ้ล แต่สุดท้ายแล้วข้อมูลที่ได้มาจริงๆ นั้นก็คือข้อมูลที่จัดแหล่งเก็บไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ที่กระจัด กระจายอยู่ทั่วไปในโลก กูเกิ้ลไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลตัวจริง เพียงอำนวยความสะดวกในการค้นหาด้วยการจัดทำดัชนีสำหรับการค้นหา แล้วชี้ไปยังแหล่งข้อมูลจริง

จะว่าไปก็เปรียบเสมือนการทำหน้าที่บรรณารักษ์ในโลกอินเตอร์เน็ตนั่นเอง เพียงแต่มันครอบคลุมไปทั่วโลกเท่านั้น

หนึ่ง ในโครงการของกูเกิ้ลที่มีมานานแล้วคือความพยายามที่จะสร้างห้องสมุดโลกขึ้น มา ที่แตกต่างไปจากการค้นหาผ่านกูเกิ้ลแบบเดิม นั่นก็คือ การสแกนหรือแปลงหนังสือเล่มๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ให้เป็นไฟล์ดิจิตอลเข้าไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิ้ล

สแกนเข้าไปหมดทั้งเล่ม แล้วใครค้นเจอก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนั้นได้ เพียงแค่คำหรือข้อความที่ค้นตรงกับที่มีอยู่ในหนังสือ

จน ถึงบัดนี้ "กูเกิ้ล" เดินหน้าสแกนหนังสือเข้าไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์แล้วร่วม 7 ล้านเล่มเป็นอย่างน้อย ทั้งหนังสือที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว และหนังสือที่ยังมีลิขสิทธิ์อยู่

โดนใจคนชอบอ่านหนังสือแน่ๆ แต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายๆ อย่างนั้น

โครงการ "กูเกิ้ล บุ๊ก เสิร์ช" นี้มีข้อขัดแย้งกับสำนักพิมพ์และนักเขียนมาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะกูเกิ้ลสแกนหนังสือโดยไม่สนใจเรื่องลิขสิทธิ์ มีการประท้วงฟ้องร้องเป็นข้อพิพาททางกฎหมายในอเมริกามาจนถึงขณะนี้ โดยที่กูเกิ้ลเสนอทางออกด้วยการจัดตั้งกองทุนเป็นเงิน 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้การดูแลของสมาคมผู้พิมพ์และผู้จำหน่ายของอเมริกา สำหรับงานทั้งหมดที่สแกนไปเก็บไว้ให้บริการคนบนอินเตอร์เน็ตแล้วเจ้าของ ลิขสิทธิ์ตัวจริงแสดงตัวพร้อมเรียกค่าเสียหาย

ในขณะเดียวกันก็มีข้อ ผูกพันด้วยว่าผลงานเหล่านี้หากในอนาคตกูเกิ้ลขาย หรือหารายได้จากมัน ก็จะแบ่งส่วนรายได้จากการขายให้เจ้าของลิขสิทธิ์ 63 เปอร์เซ็นต์ กูเกิ้ลหักไว้ 37 เปอร์เซ็นต์

มองกันว่าหากศาลตัดสินโดยยอมให้ข้อเสนอนี้ของกูเกิ้ลทำได้ กูเกิ้ลก็จะกลายผู้ผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญาของโลกไปโดยปริยาย

แน่ นอนว่าส่วนหนึ่งของหนังสือ 7 ล้านเล่มที่กูเกิ้ลสแกนไปเก็บไว้ให้คนค้นแล้วนั้น ได้รับความร่วมมือจากห้องสมุดและสำนักพิมพ์บางแห่ง แต่ส่วนหนึ่งของหนังสือเป็นหนังสือที่ถูกอ้างว่าไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ถือ ลิขสิทธิ์ตัวจริง

เจ้าของลิขสิทธิ์ไปเจอเข้าโดยไม่ยินยอมก็ไปว่ากันเป็นกรณีๆ ไป

มองกันในแง่ของหนังสือที่เลิกพิมพ์ไปแล้ว กูเกิ้ล บุ๊ก เสิร์ช นับเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง แต่หนังสือที่ยังวางขายอยู่ก็ได้ประโยชน์ด้วยเพราะมีโอกาสที่จะเข้าถึงคนได้ มากกว่า

ในขณะที่คดีพิพาทดังกล่าวนี้ใกล้งวดเข้ามา อีกฝั่งหนึ่งที่รวมหัวกันออกมาคัดค้านก็คือ คู่แข่งของกูเกิ้ล ทั้งไมโครซอฟท์ ยาฮู ตลอดจนสำนักพิมพ์ และห้องสมุดหลายแห่ง ในนามของกลุ่มโอเพ่น บุ๊ก อัลไลน์ซ ซึ่งมีกลุ่มอินเตอร์เน็ต อาร์ไคฟ์ องค์กรไม่แสวงกำไรเป็นหัวหอกมาก่อน

และรายล่าสุดที่เข้าร่วมในกลุ่มค้านก็คือ อเมซอน เจ้าแห่งร้านหนังสือบนอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ส่วนหนึ่งของความกลัวน่าจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจที่กลัวกัน ว่ากูเกิ้ลจะ "กินรวบ" ตลาดหนังสือดิจิตอลไว้คนเดียว

แต่ อีกส่วนหนึ่งก็มองไปในเรื่องของการผูกขาดสิทธิในงานที่กูเกิ้ลสแกนเข้าไป ต้องการหลักประกันให้เป็นระบบเปิดที่แท้จริง รวมไปถึงการตระหนักในสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มากกว่าที่กูเกิ้ลทำอยู่ซึ่ง เหมือนการมัดมือชกกันกลายๆ

ระบบของกูเกิ้ล บุ๊ก เสิร์ช นั้นใครก็สามารถสแกนหนังสือของใครเข้าไปก็ได้ง่ายมาก ส่วนความรับผิดทางกฎหมายมีนัยที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนอยู่มากเหมือนกัน

อย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อไม่นานมานี้บริการของกูเกิ้ลเริ่มแล้วสำหรับหนังสือภาษาไทย เข้าไปลองค้นๆ ดูก็ได้ครับ


หน้า 6
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act03240852&sectionid=0130&day=2009-08-24

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม